show image
Link
หมดเขต
Video
Please select a module

Flower 3 5b2e9

          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ด้วยการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  (วช.)  ดำเนิน “โครงการการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค”  มุ่งนำองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านไม้ดอกไม้ประดับ  ผ่านการถ่ายทอดวิธีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับสำหรับการบริโภคอย่างปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการผลิตในระบบเกษตรปลอดภัย การนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มผู้ประกอบการคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ จัดงาน “Floral Delights: Edible Flower showcase at Andaman” ในวันที่ 22 สิงหาคม 2566  ณ ห้องประชุม Plaza I โรงแรม Deevana Plaza Phuket เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากดอกไม้และประชาสัมพันธ์โครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน  โอกาสนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. นายดนัย สุนันทารอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และคณะผู้บริหาร กลุ่มเกษตรกร  ผู้ประกอบการ  ร่วมเป็นเกียรติในงาน    

Flower 2 0de0d

           ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช.  กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนโครงการการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอก  ไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค ดำเนินการโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. ในการส่งเสริมระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ในระบบเกษตรปลอดภัย (GAP) ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น การบริโภคดอกไม้ที่สามารถรับประทานได้ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ ทั้งนี้ วช. คำนึงถึงผู้บริโภคที่จะนำดอกไม้ไปใช้เพื่อการบริโภค ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีระบบปลูกเลี้ยงที่ปลอดภัย ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ นอกจากนี้ภายใต้การดำเนินโครงการยังมีการพัฒนากลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกเลี้ยงให้เข้มแข็ง สร้างรายได้ให้กลุ่มเกษตรกร โดยการส่งผลผลิตสด รวมทั้งแปรรูปผลผลิตสำหรับส่งให้ร้านอาหารและโรงแรมในพื้นที่ ตลอดจนสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการบริโภค ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบสู่การเรียนรู้เชื่อมโยงไปยังพื้นที่ของจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

Flower 5 33b9b

          ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) ได้ส่งเสริมและพัฒนาระบบการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ให้กับเครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย ตลอดจนขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่เศรษฐกิจท่องเที่ยว เช่น ภาคใต้ (จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ และอุบลราชธานี) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยา และมีธุรกิจโรงแรม ที่มีการใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับในการจัดตกแต่งอาคารสถานที่ รวมทั้งมีการใช้ดอกไม้ ใบไม้ สำหรับจัดตกแต่งจานอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เครื่องหอมลูกประคบสำหรับธุรกิจสปา เป็นต้น โดย  วว. เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้บริโภค จึงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค  ที่มีผลต่อกระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังได้ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับ ให้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพการผลิต การแข่งขัน ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ยั่งยืน

          “ ...ในนามของ วว. มีความยินดียิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อการบริโภค   โดยมีทีมนักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้ประโยชน์จากดอกไม้ให้แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกร รวมถึงผู้สนใจ ที่จะนำความรู้ไปต่อยอดสำหรับกิจการของตนเอง  นอกจากนี้ยังได้นำผลงานวิจัยจาก โครงการการรวบรวมและการประเมินศักยภาพกระทือและดาหลาต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย  มาร่วมจัดแสดงผลงานด้วย  พร้อมนี้  วว.  ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดภูเก็ต ร่วมจัดกิจกรรม  เช่น การแสดงการจัดดอกไม้และการสาธิตการใช้ดอกไม้ในการทำอาหารว่างและตกแต่งบนโต๊ะอาหาร การรังสรรค์เมนูอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) ด้วยวัตถุดิบหลักจากดอกไม้กินได้  จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ตลอดจนร่วมจัดแสดงพรรณไม้พื้นถิ่นและพรรณไม้เศรษฐกิจ อาทิ ดาหลา กระทือ เบญจมาศ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้ความรู้ไปประยุกต์ใช้และสนับสนุนธุรกิจของตนเอง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตต่อไป ...” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

          นายดนัย สุนันทารอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า  จากการที่ วว. และวช. ได้เห็นถึงความสำคัญในการนำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับมามอบให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงแรม และร้านอาหารในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผ่านการจัดงานในครั้งนี้จะช่วยก่อประโยชน์ในด้านการนำไปประดับในเมนูอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย  สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ท้องถิ่น นอกเหนือจากนำไปใช้ตกแต่งอาคารและสถานที่เพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังจะเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างโรงแรม ร้านอาหารและเกษตรกร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ต่อไป

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์  วว. ติดต่อได้ที่  โทร. 0 2577 9000 , 02-5779004, 02-5779007  E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นำเสนอข่าวโดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว. โทร. 0 2577 9360  E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  Line@tistr  IG : tistr_ig   YouTube / TIKTOK : @tistr2506

  • Hits: 197
เทคโนธานี คลอง 5

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของเทคโนธานี

ios app andriod app 

เทคโนธานี TECHNOTHANI เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube

เทคโนธานี คลอง 5
© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.