Written by บุษราภรณ์ on . Posted in ข่าวกิจกรรม อพ.

show image
Link
หมดเขต
Video
Please select a module

01.1 83293

 

 

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเป็นประธานในการเปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปลัดกระทรวง อว. เอกอัครราชทูตจากประเทศเดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่นและรัสเซีย ผู้แทนท่านทูตจากสหราชอาณาจักร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมในพิธีเปิดงาน

02 55315

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเป็นประธานในการเปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปลัดกระทรวง อว. เอกอัครราชทูตจากประเทศเดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่นและรัสเซีย ผู้แทนท่านทูตจากสหราชอาณาจักร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมในพิธีเปิดงาน

03 d14fd

 

04 e77ed

     จากนั้น นายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวเปิดงานว่า “วิทยาศาสตร์เป็นส่วนสำคัญที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการศึกษา และการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างคนเพื่ออนาคต ซึ่งต้องไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการเข้าถึงความรู้ โลกในอนาคตเป็นโลกกว้างที่มีองค์ความรู้หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้อย่างไร้พรมแดน เรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต้องเป็นความรู้พื้นฐานของคนไทย ต้องมีการผสมผสานการศึกษาเรียนรู้ในห้องเรียน และนอกห้องเรียนที่ต่อเนื่องสำหรับทุกช่วงวัยรัฐบาลให้ความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัย มุ่งการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างสมบูรณ์ หวังให้เยาวชนไทยมีหลักคิดเป็นเหตุเป็นผล ให้คนไทยมีทักษะความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคต ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคมฐานนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางในปี 2580 ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ถือเป็นอีกหนึ่งในการดำเนินงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เยาวชนและประชาชนไทย ได้เรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีประเด็นเนื้อหาทันยุคสมัย อยู่ในความสนใจของประชาชน รวมทั้งประเด็นที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการพัฒนาประเทศ เสริมสร้างบทบาทให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อรับมือกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลง ในโอกาสนี้ รัฐบาลขอขอบคุณหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศทั้ง 6 ประเทศ 80 หน่วยงาน ที่ร่วมกันจัดงานนี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน และประชาชน อันจะก่อให้เกิดสังคมวิทยาศาสตร์ ใช้ข้อมูล ใช้เหตุและผลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยของเราเติบโตอย่างเข้มแข็งอย่างยั่งยืนสืบไป

 

06 8daa2

     ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ในปีนี้ จัดขึ้นบนแนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Art – Science – Innovation and Creative Economy)” และสื่อสารเนื้อหาทางวิชาการตามนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับศิลปะในมุมของการขับเคลื่อน พัฒนา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ของประเทศ และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม “BCG Model : Bio - Circular - Green Economy” รวมทั้งร่วมเฉลิมฉลองวาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์และสังคมของโลกในปี 2021 ได้แก่ ปีสากลแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (International Year of Creative Economy for Sustainable Development) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้งานนี้เปลี่ยนระบบความคิดของคนไทยให้หันมาสนใจ ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก น่าตื่นเต้น น่าเรียนรู้และจับต้องได้ ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น นิทรรศการความก้าวหน้าและกิจกรรมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจกรรมสำหรับเยาวชน การประกวดแข่งขัน U2T Hackathon 2021 เป็นต้น

 

07 926e6

ในด้านแนวนโยบาย BCG Model นับเป็นครั้งแรกของการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1st BCG Science Fair in SEA) ที่จุดประกายความคิด สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยปลูกฝังให้เยาวชนและคนไทยรับทราบ เริ่มลงมือปฏิบัติและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่านนิทรรศการภายในงาน เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบนิทรรศการที่คำนึงถึงการใช้ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ส่งเสริมการใช้ซ้ำ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดหรือประหยัดทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย

08 308a6

 


“ตลอด 15 ปีของการจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีส่วนในการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ สร้างสังคมอุดมปัญญาให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศที่มาเที่ยวชมงานมากกว่า 15 ล้านคน นับเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ชื่นชอบการแสวงหาความรู้ โดยปีนี้ได้สร้างสรรค์วิธีการ รูปแบบการรับชมงานแบบไฮบริดอีเว้นท์ ที่ผสมผสานระหว่างการเข้าชมงานในฮอลล์ หรือเลือกรับชมจากที่บ้านก็ได้ โดยมุ่งหวังว่าเด็ก เยาวชนไทย ตลอดจนสังคมไทยจะยกระดับความรู้ ได้รับแรงบันดาลใจ สร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความเป็นชาติแห่งวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในอนาคตต่อไป” ศาสตราจารย์พิเศษ เอนกฯ กล่าว

                     เปิดโลกแห่งการเรียนรู้วิทย์ยุคใหม่ใน 2 ช่องทาง
                     • Online ไร้ข้อจำกัดเวลาและสถานที่ด้วย Virtual Exhibition ในโลกออนไลน์ ผ่าน www.thailandnstfair.com
                     • On ground สัมผัสเทคโนโลยีและนวัตกรรมจริงในแบบออนกราวด์ ระหว่าง 9-19 พฤศจิกายน 64 ณ อาคาร 9-12 อิมแพ็ค เมืองทองธานี