00001 9b407

สำหรับการอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากหน่วยงานร่วมจัด ได้แก่ ศ.ดร.ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัฒน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาสาสตร์ อ.สกุล บุณยทัต นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.อพวช. เป็นประธานเปิดงาน โดยการอบรมฯ จัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 12 – 13 มีนาคม 2565 ณ ห้องแสงเดือน ชั้น 2 อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษ อาทิ เรื่องการสื่อสารวิทยาศาสตร์คืออะไร โดย คุณชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา และการบรรยายเรื่อง Science Fiction โดย รศ.ดร.ชัยรัตน์ คุประตกุล ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก โดยหวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะทำให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกิดแรงบันดาลใจพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ และหันมาสนใจเรื่องราววิทยาศาสตร์ พร้อมนำไปสร้างผลงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในรูปแบบงานเขียนมากขึ้น ถือเป็นบันไดสำคัญขั้นหนึ่งในการร่วมสร้างสังคมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

00002 0281b

 

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “อพวช. นอกจากจะเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ให้บริการด้านพิพิธภัณฑ์แล้วยังมีการจัดกิจกรรมและการประกวดแข่งขันต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชนมีความรักและสนใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยล่าสุด อพวช. ได้ร่วมกับภาครัฐ มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน จัดการอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ที่เล็งเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยการนำเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์มาถ่ายทอดเป็นวรรณกรรมที่เรียกว่านิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีฐานการคิดเป็นแบบวิทยาศาสตร์ เพราะนอกเหนือจากความบันเทิงแล้ว เรื่องราวเหล่านั้นยังสร้างแรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจต่าง ๆ รวมทั้งอาจสร้างให้เกิดเป็นนวัตกรรมได้อีกด้วย นอกจากนี้นิยายวิทยาศาสตร์ยังช่วยสร้างทัศนคติและเจตคติด้านวิทยาศาสตร์ให้กับผู้อ่าน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมวิทยาศาสตร์หรือสังคมฐานความรู้และสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคมนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี”

00003 6c686

สำหรับการอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากหน่วยงานร่วมจัด ได้แก่ ศ.ดร.ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัฒน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาสาสตร์ อ.สกุล บุณยทัต นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.อพวช. เป็นประธานเปิดงาน โดยการอบรมฯ จัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 12 – 13 มีนาคม 2565 ณ ห้องแสงเดือน ชั้น 2 อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. คลองห้า ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษ อาทิ เรื่องการสื่อสารวิทยาศาสตร์คืออะไร โดย คุณชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา และการบรรยายเรื่อง Science Fiction โดย รศ.ดร.ชัยรัตน์ คุประตกุล ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมาก โดยหวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะทำให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกิดแรงบันดาลใจพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ และหันมาสนใจเรื่องราววิทยาศาสตร์ พร้อมนำไปสร้างผลงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในรูปแบบงานเขียนมากขึ้น ถือเป็นบันไดสำคัญขั้นหนึ่งในการร่วมสร้างสังคมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

00004 5ef1c

 

00005 c496f

0006 8f7b8

 

 

 

 

  • Hits: 419

 

รับสมัคร acff5

ข่าวดี❗ขยายเวลาการประกวด #โครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา ระดับประเทศ 2565”🐠ชิงทุนการศึกษาและรางวัลมูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท
.
เนื่องจากมีผู้สนใจร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนได้จัดเตรียมผลงาน อพวช. จึงขยายเวลาเปิดรับผลงานจนถึงวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 17.00 น. 🗓📌
.
อพวช. ร่วมกับ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวนน้อง ๆ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) หรือเทียบเท่า เข้าร่วมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา ประจำปี 2565 เนื่องในโอกาสปีสากลแห่งการประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ (2022 the International Year of Artisanal Fisheries and Aquaculture-IYAFA)
.
📝ผู้สนใจร่วมโครงการ สามารถกรอกใบสมัครและส่งผลงาน ภายใต้หัวข้อ “ประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ สู่วิถีแห่งความยั่งยืน” (Artisanal Fisheries and Aquaculture for Sustainable Living)
.
👥40 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือก จะได้เข้าร่วมประกวดในรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี
.
📌ขยายเวลารับสมัคร ถึงวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 17.00 น.
📌ประกาศผลรอบคัดเลือก วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 ทางเว็บไซต์ อพวช.
📌รายละเอียดโครงการเพิ่มเติม https://bit.ly/2Psr26I
📌กรอกใบสมัคร https://forms.gle/SRyK5kbwshkPEKje7
.

 

 

  • Hits: 402

คาราวานร้อยเอ็ด 7f588

 

วันที่ 10 มีนาคม 2565 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล จัดพิธีเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. สายอาชีพ” จ. ร้อยเอ็ด เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างสนุกสนาน ด้วยการส่งเสริมและจุดประกายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับเยาวชนในด้านอาชีพสะเต็ม เพื่อเตรียมความพร้อมการประกอบอาชีพในอนาคต และเพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต โดยได้รับเกียรติจาก นายสนอง ดลประสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดงานคาราวานฯ ดังกล่าว โดยมี ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคุณศิริรัตน์ พละไกร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหาร ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ร้อยเอ็ด กล่าวต้อนรับ โดยภายในงานฯ พบกับ 10 อาชีพวิทย์ที่น่าสนใจ พร้อมสนุกไปกับกิจกรรม Workshop ให้น้อง ๆ ได้ทดลองสวมบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพ พร้อมจัดกิจกรรมพูดคุยกับบุคคลต้นแบบอาชีพวิทย์ (Science Idol) โดยได้ร่วมพูดคุยกับ คุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์    จาก แก้วพะเนาว์ ออร์แกนิค ฟาร์ม บุคคลต้นแบบจาก อาชีพเกษตรกรยุคใหม่ ซึ่งงานคาราวานฯ ดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างตั้งแต่วันที่ 10-13 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ ร้อยเอ็ด

 

 

  • Hits: 426

10036502 b9ab3

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้ดำเนินโครงการถ่ายทอดความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในโครงการจัดตั้งวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย (ธัชชา) โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างความตระหนัก และสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ เชิงวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ แก่ประชาชนและผู้สนใจ เนรมิตงาน “ธัชชากับการพัฒนาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ การสร้างมูลค่าโดยบูรณาการทุกศาสตร์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนไทย”      เพื่อสื่อสารผลงานและแผนการดำเนินการ รวมทั้งเปิดเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองในการพัฒนางานวิจัยดังกล่าว สู่การพัฒนาสังคมและภูมิภาคในอนาคต โดยได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “1 ปีธัชชากับการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ครั้งสำคัญของประเทศ” พร้อมเปิดเวทีการเสวนา 2 หัวข้อน่าสนใจ ได้แก่ การเสวนา หัวข้อ “การบูรณาการข้ามศาสตร์ ต่อยอดองค์ความรู้ สู่การสร้างคุณค่า และสร้างรายได้” และการเสวนาวิชาการนานาชาติ หัวข้อ “จากต้นทุนทางวัฒนธรรมสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ” (ผลจากงานวิจัยเรื่องทองคำในยุคสุวรรณภูมิ) ในวันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรุงเทพฯ

 

 

 

  • Hits: 397
เทคโนธานี คลอง 5

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของเทคโนธานี

ios app andriod app 

เทคโนธานี TECHNOTHANI เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary , Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube

เทคโนธานี คลอง 5
© 2021 TECHNOTHANI, Office of the Permanant Secretary, Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.