Written by Chanikcha on . Posted in ข่าวกิจกรรม มว.

show image
Link
หมดเขต
Video
Please select a module

 

CRMA2021 IMG01 72c34

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 พลเอกหญิง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานของที่ระลึกให้แก่หน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมจัดงาน “วันนิทรรศการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2564” ระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2564 ณ อาคารโรงเลี้ยงนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรผลงานทางวิชาการ โดยมี นายจรัญ  ยะฝา  ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และพนักงานสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เฝ้ารับเสด็จ

“นิทรรศการวิชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ตลอดจนส่งเสริม พัฒนา และขยายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน   โดยในปี 2564 นี้ มีสถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมจัดแสดงโครงการ ผลงาน และงานวิจัย รวม 27 หน่วยงาน ซึ่งสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ ในหัวข้อ “การวัดย่านความถี่สูงเพื่อการสื่อสารยุค 5G” ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาความสามารถทางการวัด 3 โครงการ คือ

  1. ระบบปรับเทียบเวลามาตรฐานผ่านโครงข่ายดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมอบเวลามาตรฐานประเทศไทย (Thailand Standard Time, TST) ไปยังผู้ต้องการใช้งานในแต่ละกลุ่มตามระดับความแม่นยำที่จำเป็น สามารถจัดหมวดหมู่ได้ ดังนี้ (1) การใช้งานทั่วไป ใช้ระดับความแม่นยำย่าน 1 millisecond (2) การใช้งานระดับให้บริการเทคโนโลยีสื่อสาร ใช้ระดับความแม่นยำย่าน 1 microsecond เช่น ระบบสื่อสาร 5G telecom profile และ (3) การใช้งานระดับกำกับดูแลเทคโนโลยีสื่อสารและความมั่นคง ใช้ระดับความแม่นยำย่าน 1 nanosecond เช่น การกำกับตลาดหลักทรัพย์ การกำกับระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบบอาวุธ
  2. ระบบการวัดกำลังไฟฟ้าความถี่สูง (Electrical power in high frequency regimes) ที่ครอบคลุมการวัดในย่าน radio frequency และ microwave และ กำลังขยายไปสู่ย่าน millimetrewave ซึ่งจะรองรับระบบเรดาร์/โซน่าร์ การสื่อสารโทรคมนาคม 5G ใยแก้วนำแสง (optical fibre) ระบบระบบอาณัติสัญญาณสำหรับการเดินรถไฟ โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง (GSM-R)  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  การแพทย์และเครื่องมือแพทย์
  3. ระบบการเทียบเวลาด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล (Global Navigation Satellite System, GNSS) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านการระบุค่าพิกัดและเวลาของประเทศ ใช้ในงานด้านการระบุตำแหน่ง การนำทางและแผนที่ ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ระบบนี้มุ่งหมายที่จะผนวก หรือประสานเวลา (time synchronisation) ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการระบุค่าพิกัดของประเทศกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการกำหนดเวลาของประเทศ

โดยทั้งสามระบบนี้ มีมาตรฐานอ้างอิงร่วมกันคือ “มาตรฐานการวัดเวลาและความถี่” และ “มาตรฐานการวัดกำลังไฟฟ้าในรูปของความจุความร้อน”

สามารถ Download แผ่นพับ-การวัดย่านความถี่สูงเพื่อการสื่อสารยุค 5G ได้ที่  http://mx.nimt.or.th/?p=14382

และสามารถ Download Poster ทั้ง 5 แผ่นได้ที่ http://mx.nimt.or.th/?page_id=1598

#มว #สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ #nimt #นิทรรศการวิชาการ #จปร #โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า #5G #การวัดย่านความถี่สูงเพื่อการสื่อสารยุค5G

CRMA2021 IMG02 781f1     

 

CRMA2021 IMG05 c409e     CRMA2021 IMG06 b8f4b

 

CRMA2021 IMG07 15fd4     CRMA2021 IMG08 c6edf

 

CRMA2021 IMG09 929bd     CRMA2021 IMG10 09b51

 

CRMA2021 IMG11 156e0     CRMA2021 IMG13 a01c1

 

              CRMA2021 IMG14 e6085      CRMA2021 IMG15 476c6